ท่านพร้อมหรือยังที่จะดูแล ปะการังโครงแข็ง (Small Polyp Scleractinia) SPS

27854 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ท่านพร้อมหรือยังที่จะดูแล ปะการังโครงแข็ง (Small Polyp Scleractinia) SPS

 

เมืองไทยในปัจจุบันนี้มีผู้ที่สนใจที่จะเลี้ยงปะการังแข็ง SPS ในระบบปิดกันมากขึ้น เนื่องมาจากความสวยงาม และการเจริญเติบโตอย่างเห็นด้วยชัดของปะการังเหล่านั้น คำถามมากมายจึงเกิดขึ้นว่า ท่านพร้อมหรือยังที่จะดูแล SPS เหล่านี้เนื่องจากการดูแล ปะการังโครงแข็งจำพวกนี้ในระบบปิด ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนการดูแลปะการังอ่อนทั่วไป เนื่องจาก SPS มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง  SPS สามารถตายหมดได้ในช่วงระยะเวลาข้ามคืน ถ้าหากได้รับการดูแลอย่างไม่ถูกวิธี

ก่อนที่ท่านคิดจะซื้อ SPS ท่านควรจะคำนึงถึงหลายๆปัจจัย รวมถึงความพร้อมของตัวท่านและระบบในตู้ของท่าน สิ่งหลักๆที่ท่านต้องคำนึงถึง ก่อนที่จะเริ่มต้นเลี้ยงมีดังนี้

 

ค่าใช้จ่ายสูงที่จะเกิดขึ้น 

การที่จะดูแล SPS ในระบบปิดนั้น มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากอุปกรณ์พื้นฐานที่ท่านต้องใช้ มีราคาค่อนข้างสูง  อาทิเช่น ไฟเมทัล ฮาไลท์และ หรือ หลอด T5,โปรตีนสกิมเอร์คุณภาพดี, ชิเลอร์ ควบคุมอุณหภูมิ, ปั้มแรงสูงหลายตัว, แคลเซียมรีแอคเตอร์ และมากไปกว่านั้น SPSมีราคาที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นท่านจึงควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อท่านเริ่มเลี้ยง รวมไปถึงค่าไฟและค่าอุปกรณ์เสริมต่างๆที่จะตามมาภายหลัง

 

ความอดทน, ความสนใจจริง และความตั้งใจศึกษา

 งานอดิเรกชนิดนี้ ไม่ใช่เพียงเงินเพียงอย่างเดียวที่สามารถทำให้ท่านเลี้ยง SPSได้ ท่านต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดต่างๆซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจาก SPS มีความละเอียดอ่อนที่ค่อนข้างสูงมาก ท่านจริงต้องมีใจรักและความสนใจจริงที่จะสามารถศึกษารายละเอียดต่างๆที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ท่านต้องมีความอดทนในการดูแล อดทนในการที่จะไม่ใส่ปะการังทีละมากๆจนเกิดปัญหา อดทนที่จะเลี้ยงปลาเป็นจำนวนไม่มาก จนเกินไป

 

ความเพียงพอของแสงในระบบ

ตามธรรมชาติ SPS เป็นปะการังที่อยู่ในทะเลที่ไม่ลึกมาก จึงมีความต้องการแสงที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นในระบบของท่านควรจะมีพลังงานจากแสงที่เพียงพอ หากกล่าวโดยคร่าวๆ พลังงานแสงอย่างต่ำที่ท่านต้องมีคือ หลอด Metal halide 250w SPS แต่ละชนิดต้องการความแข้มของแสงที่ต่างกัน แต่ Metal halide 250w คือความต้องการเบื้องต้นที่ท่านต้องมีในระบบ แต่หากจะให้ดียิ่งขึ้นควรใช้หลอด 400w หลอดแต่ละชนิดจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วท่านควรเปลี่ยนหลอดไฟทุกๆ 10-12 เดือน เนื่องจากสีและลำแสงที่เปลี่ยนของหลอดไฟเสื่อมคุณภาพ จะส่งผมเสียต่อ SPS

 

คุณภาพของน้ำทะเลในระบบ (อุณหภูมิ, ความเค็ม,แคลเซียม,อัลคาไลน์,ฟอสเฟส,ไนเตรท, อื่นๆ) 

เนื่องจาก SPS เป็นสิ่งที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสูง ดังนั้นถ้าหากท่านจะต้องการเปลี่ยนแปลงค่าใดๆของน้ำในระบบของท่าน ท่านควรทำอย่างช้าๆหลายๆวันจนได้ค่าที่ท่านต้องการ ท่านไม่ควรทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากๆในครั้งเดียว เนื่องจากจะก่อให้เกิดความเครียดในตัว SPS และตายได้ในที่สุด ค่าต่างๆของน้ำในระบบที่ท่านต้องคำนึงถึง ก็คือ

อุณหภูมิ ยังเป็นที่ถกเถียงกันทั่วไปว่าอุณหภูมิขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับการดูแล SPS จากประสบการณ์บางท่าน รักษาไว้ที่25C แต่ก็มีบางท่านที่ ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงที่ 29-30C ดังนั้นหากกล่าวโดยคร่าวๆ อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเลี้ยง SPS อยู่ที่ระหวว่าง 25-30C ไม่ควรต่ำหรือสูงไปกว่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ ทำให้อุณหภูมิคงที่ ที่สุดทั้งวัน อาทิเช่น หากท่านต้องการตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 28c ระหว่างวันท่านก็ควรจะไม่ให้อุณหภูมิร้อนจนถึง29 c หรือ เย็นลงไปถึง 27 c หัวใจของเรื่องนี้ก็คือความคงที่แกว่งตัวไม่เกิน 1องศา

ไนไตรท,ไนเตรท,ฟอสเฟส และแอมโมเนีย ท่านควรจะต้องมีเครื่องมือวัดคุณภาพน้ำเหล่านี้ให้ครบถ้วน เนื่องจาก SPS ต้องการน้ำที่มีคุณภาพค่อนข้างสูง จึงทำให้ SPS เติบโตและมีความสวยงามมากขึ้น ดังที่ท่านอาจสังเกตได้จาก แหล่งทะเลที่มี SPS จะเป็นทะเลที่มีความสะอาดค่อนข้างสูง ดังนั้นค่าต่างๆดังกล่าวท่านควรจะ ทำให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงศูนย์ หรือไม่สามารถตรวจพบได้เลยในระบบของท่าน

ความเค็ม   หลายท่านอาจจะเข้าใจผิดอันเนื่องมาจากเครื่องมือวัดความเค็มต่างๆที่มีขายอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน จะแนะนำค่าที่ ระหว่าง 1.020-1.023 ค่าดังกล่าว เป็นเป็นค่าความเค็มที่นิยมเลี้ยงกันในอดีต แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการศึกษา กันอย่างชัดเจนแล้วว่า ควรรักษาระดับความเค็มไว้ที่ 1.025 ซึ่งจะเป็นระดับที่ดีที่สุดในการดูแล SPS

แคลเซียมและอัลคาไลน์  ระดับที่เหมือนกับน้ำทะเลจากธรรมชาติ คือเป้าหมายที่ท่านต้องมี คือ แคลเซียมที่ 420-550 mh/L และ อัลคาไลน์ที่ 2.9mEq/L (8 dKH) เนื่องจากSPS คือปะการังแข็ง ซึ่งใช้แคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลักในการเจริญเติบโต ดังนั้นท่านจึงควรวัดระดับความต้องการของแคลเซียมในระบบของท่าน แล้วใช้แคลเซียมรีแอคเตอร์ หรือเติมแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการในระบบ (ปริมาณของแคลเซียมขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของ SPS)

 

คลื่นและการเคลื่อนไหวของน้ำ  

SPS ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้  จึงต้องการคลื่นน้ำในการดำรงค์ชีวิต เนื่องจากคลื่นในน้ำสามารถ ทำให้เกิดการถ่ายเทของก๊าซ นำอาหารมาให้และปัดของเสียออกไป ดังนั้นคลื่นน้ำในระบบจึงเป็นอีกสิ่งที่ท่านต้องคำนึงถึง หากท่านสังเกตในทะเล คลื่นจะมีความแรงสูงมาก และมีการเคลื่อนไหวหลายทิศทาง ในระบบปิด การที่จะทำให้มีการเคลื่อนไหวของน้ำแบบในทะเลนั้น เป็นเรื่องยาก แต่จากการศึกษาและค้นคว้าของผู้เลี้ยง SPS ในต่างประเทศค้นพบว่า ระดับการเคลื่อนไหวของน้ำในตู้ของท่านต่อชั่วโมง จะต้องเป็น 10เท่าของจำนวนน้ำในตู้ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากตู้ท่านมีขนาด 500ลิตร ท่านจะต้องใช้ปั้มในการทำให้น้ำเคลื่อนที่อย่างต่ำ 5000ลิตรต่อชั่วโมง (จากปั้มหลายตัว) ดังนั้นท่านอาจจะเลือกใช้ ปั้มขนาด 1000ลิตรต่อชั่วโมงเป็นจำนวน 5ตัว ก็จึงจะเพียงพอต่อระบบของท่าน ข้อเสียของการใช้ปั้มก็คือ ปั้มจะพ้นน้ำออกมาเพียงทิศทางเดียง แต่สิ่งที่ท่านต้องการก็คือกระแสน้ำหลายทิศทางแบบในทะเล ดังนั้นท่านจึงอาจจะใช้ เครื่องทำคลื่นหรือ wave maker ต่อเข้ากับปั้มซึ่งจะควบคุมให้ปั้มของท่าน สลับกันทำงานไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิดน้ำหลายกระแสในระบบของท่าน หรือท่านอาจจะเพียงแค่จ่อให้กระแสน้ำชนกระจกอีกฝั่งหรือให้กระแสน้ำจากปั้มสองตัวชนเข้าหากัน ท่านก็จะได้คลื่นน้ำที่ มีหลายกระแส ตามต้องการ

 

อาหารของ SPS

SPS ยังต้องการสารอาหารอื่นๆนอกเหนือจากแสงและแร่ธาตุในน้ำ ท่านควรที่จะให้แพลงตอลพืช และแพลงตอลสัตว์ เพื่อเป็นอาหารให้กับ SPS แต่ควรจะให้ในปริมาณที่เหมาะสมตามแต่ละชนิดของแพลงตอล ควรให้ทีละน้อยๆแต่บ่อยๆ เนื่องจากตามธรรมชาติ SPS จะได้รับแพลงตอลตลอดเวลาจากน้ำทะเล แต่ถ้าหากท่านให้แพลงตอลมากเกินไปจะทำให้น้ำในระบบคุณภาพไม่ดี

 

ก่อนที่จะเอา SPS ก้อนใหม่ใส่ลงระบบของท่าน

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น SPS มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง ดังนั้นท่านควร คำนึงถึงค่าของน้ำที่แตกต่างกันระหว่างในระบบของท่านและ น้ำที่มากับ SPS ท่านควรจะใช้สายยางเล็ก (แบบสำหรับใช้กับหัวทรายอ็อกซิเจน) ต่อกับวาวส์ เปิดปิด แล้วทำกาลักน้ำ ค่อยๆหยดน้ำจากระบบของท่านลงในน้ำที่มากับย SPS ประมาณ 1-3หยดต่อวินาที เป็นเวลาอย่างต่ำ 40-50นาที เพื่อให้แน่จว่าน้ำจากสองที่มีค่าที่ใกล้เคียงกันแล้ว ก่อนที่ท่านจะนำ SPS ลงในระบบ ทั้งนี้จะทำให้ลดความเครียดของการเปลี่ยนแปลงและทำให้มีโอกาสรอดที่สูงขึ้น

การจัดวาง

เนื่องจาก SPS ต้องการแสงมากท่านจึงควรวางไว้จุดที่ไม่ต่ำจากผิวน้ำจนเกินไป เพื่อให้ SPS ได้รับแสงอย่างทั่วถึง และควรเว้นระยะรอบข้างเผื่อการเจริญเติบโตในอนาคต การจัดวาง SPS ควรจัดวางในแบบถาวร ควรใช้กาวปะการัง(Epoxy)ติด กับหินที่ท่านต้องการวางและไม่ควรจับหรือเคลื่อนย้ายบ่อยๆ เนื่องจากจะทำให้เครียดและตายได้ นอกจากนี้ SPS ยังไม่ถูกกับ ปะการังอ่อน บางชนิด ท่านควรจะศึกษาให้ดีก่อนที่จะนำสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เข้ามาในระบบของท่าน

 


สรุป

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือสิ่งที่ท่านต้องคำนึงถึงแบบย่อๆ ถ้าหากท่านต้องการจะเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการดูแล SPS ท่านควรจะศึกษาเพิ่มเติม ให้มาก และวางแผนให้ดีก่อนที่จะนำมา เนื่องจาก SPS ต้องการการเอาใจใส่ดูแลและทุ่มเทอย่างสูง มากไปกว่านั้น การดูแลแบบไม่รับผิดชอบยังก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าหากท่านรบกวนระบบนิเวทศ์ในทะเลมากเกินไป บทความนี้ มิได้สนับสนุนให้ท่านเลี้ยง SPS แต่ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้สนใจอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นการดีกว่าที่ควรจะแนะนำให้เกิดการดูแลอย่างถูกวิธี หรือการเลี้ยงในเชิงศึกษาและอนุรักษ์ การครอบครองตู้ทะเลนั้น มิใช่เพียงว่าเอาของมาตั้งโชว์ แต่ท่านควรจะทำให้สิ่งนั้นๆเติบโตและขยายพันธุ์ได้ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

 

ที่มา

บทความนี้ได้รวบรวมและแปลมาจากหลายๆบทความจาก

www.reefcentral.com และบทความจาก SPS mini-FAQ v1.4 by James A. Fox

 

Powered by MakeWebEasy.com